วันจันทร์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551

คำถาม + คำตอบ คอมพิวเตอร์ 20 ข้อ

ข้อสอบชุดที่ 27
1. Interpreter มีข้อด้อยกว่า Compiler ในด้านใด
ตอบ ง. ถูกทุกข้อ
คำอธิบาย Interpreter จะทำการอ่านโปรแกรมที่ละบรรทัดและทำการประมวลผลนั่นก็คือจะทำการประมวลเร็ว ส่วน compiler จะทำการอ่านโปรแกรมและแปลงโปแกรมก่อนที่โปรแกรมจะทำการสตาท ยกตัวอย่างได้ประมาณนี้ high level language คือ source code และ translated program คือ object code หรือ executable เมื่อโปรแกรมทำการ compiled ไปครั้งหนึ่งแล้ว สามารถที่จะรันมันซ้ำๆๆโดยไม่ต้องทำการ translate มันอีก
ที่มา http://kikwan.exteen.com/category/MIT

4. Auto list Member ทำหน้าที่อะไร
ตอบ ก. ตรวจสอบอ็อบเจ็คที่มีการใช้งาน
คำอธิบาย Auto List Member คือ เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้การเขียนโค้ดง่ายขึ้น โดยจะทำหน้าที่ตรวจสอบว่าแต่ละออบเจ็กต์ที่มีการใช้งาน หรือชนิดข้อมูลที่เราสร้างขึ้นเองนั้นมีสมาชิก (Member)คือ พร็อพเพอร์ตี้หรือเมธอดอะไรที่สามารถใช้ได้โดยจะแสดงในลักษณะของรายการปรากฏขึ้นมาใน Code Window
ที่มา http://learners.in.th/blog/annxppl01/42618?class=yuimenuitemlabel

5. Auto Quick info ใช้เพื่อประโยชน์อะไร
ตอบ ก. ตรวจสอบว่าแต่ละคำสั่งมีรูปแบบอะไร ต้องการขอมูลหรืออาร์กิวเม็นอะไร
คำอธิบาย Auto Quick Info เป็นการกำหนดให้ Editor แสดง Pop-Up Box ซึ่งเป็นกรอบสี่เหลี่ยมเล็กใต้ประโยคคำสั่งที่เรากำลังพิมพ์บนจอภาพเพื่อแสดงถึงรูปแบบของฟังก์ชันนั้นๆ
ที่มา http://www.se-ed.net/lomsaks/HTML/Check_Error.htm

13. ข้อเสียของ UTP คือข้อใด
ตอบ ข. สัญญาณรบกวนมาก
คำอธิบาย สายคู่ตีเกลียวแบบไม่มีชิลด์ (Unshielded Twisted-Pair : UTP) เป็นสายเคเบิลที่ถูกรบกวนจากภายนอกได้ง่าย แต่ก็มีความยืดหยุ่นในการใช้งานสูงและราคาไม่แพง
ที่มา http://learners.in.th/blog/itfor3lkamontip/80283

24. VGA Card คืออะไร
ตอบ ก. การ์ดแสดงผล
คำอธิบาย VGA Card นี้ มีหน้าที่หลักๆ คือ จะรับสัญญาณข้อมูล Digital มาจากหน่วยประมวลผลกลาง แล้วจึงทำการแปลงสัญญาณผ่านทางตัวแปลงสัญญาณภาพ หรือ RAMDAC ( RAM Digital-to-Analog Convertor ) ซึ่งเป็นตัวแปลงข้อมูลใน RAM ที่เก็บเป็น Digital ให้เป็นสัญญาณ Analog ส่งต่อไปยังจอ Monitor เพื่อทำการแสดงผลอีกทีหนึ่ง
ที่มา http://www.obec.go.th/netarea/VGA/VGA1.htm

37. ใครเป็นผู้ประดิษฐ์เครื่องหาผลต่าง (Difference Engine)
ตอบ ง. ชาร์ล แบบเบจ
คำอธิบาย ชาร์ล แบบเบจ (Charles Babbage) นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษประดิษฐ์เครื่องวิเคราะห์ (Analytical Engine หรือ Difference Engine) มีความสามารถคำนวณ, พิมพ์ตารางค่าของตรีโกณมิติ ฟังก์ชั่นทางคณิตศาสตร์และสมการโพลิโนเมียล (Polynomial)คู่กับสมการผลต่าง (Difference equation) ได้ เครื่องจักรกลชนิดนี้ทำงานด้วยเครื่องยนต์พลังไอน้ำ มีข้อมูลบันทึกอยู่ใน บัตรเจาะรู (Punched Card) จึงสามารถคำนวณได้โดยอัตโนมัติและเก็บผลลัพธ์ไว้ในหน่วยความจำก่อนพิมพ์ออกทางกระดาษ หลักการทำงานที่มีการรับข้อมูลการประมวลผล การแสดงผลได้อย่างอัตโนมัตินี้ ได้นำมาเป็นพื้นฐานสร้างคอมพิวเตอร์ในยุคต่อมาจนถึงปัจจุบัน จึงได้ยกย่องให้ ชาร์ล แบบเบจ เป็นบิดาแห่งเครื่องคอมพิวเตอร์
ที่มา http://yalor.yru.ac.th/~sirichai/e-learning/module1-information-technology/history-com.html

38. ใครเป็นโปรแกรมเมอร์คนแรกของโลก
ตอบ ข. เอดา ออกุสตา
คำอธิบาย มีการสร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์ครั้งแรกโดย เอดา ออกุสตา (Ada Augusta) นักคณิตศาสตร์นำเอาหลักการของ แบบเบจ มาใช้ โดยนำเครื่อง Analytical Engine มาแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ได้สำเร็จโดยสร้างคำสั่งควบคุมการแก้ปัญหาไว้ล่วงหน้า จึงยกย่อง เอดา ออกุสตา (Ada Augusta) ว่าเป็น “โปรแกรมเมอร์(Programmer)” หรือผู้เสร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์เป็นคนแรกของโลก
ที่มา http://yalor.yru.ac.th/~sirichai/e-learning/module1-information-technology/history-com.html

39. ใครเป็นผู้คิดค้นแบบจำลองของคอมฯ อิเล็กทรอนิกส์
ตอบ ค. ดร. จอร์น วินเซนต์ อนาตาซอฟ
คำอธิบาย [ พ.ศ.2480-2481 ] ดร.จอห์น วินเซนต์ อตานาซอฟ ( Dr.Jobn Vincent Atansoff) และ คลิฟฟอร์ด แบรี่ ( Clifford Berry) ได้ประดิษฐ์เครื่อง ABC ( Atanasoff-Berry) ขึ้น โดยได้นำหลอดสุญญากาศมาใช้งาน ABC ถือเป็นเครื่องคำนวณเครื่องแรกที่เป็นเครื่องอิเล็กทรอนิกส์
ที่มา http://www.thaicyberpoint.com/ford/blog/id/193/

43. คอมพิวเตอร์ประเภทใดขนาดใหญ่ที่สุด
ตอบ ค. ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์
คำอธิบาย ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (Super Computer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีความสามารถสูงที่สุดในกลุ่มมีขนาดใหญ่ ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (Super Computer) สามารถประมวลผลข้อมูลในปริมาณมากรวมถึงการประมวลผลงานที่มีรูปแบบอันซับซ้อน มีความรวดเร็วในการคำนวณได้มากกว่าหนึ่งล้านล้านต่อวินาที ( 1 Trillion calculations per second ) ภายในซูเปอร์คอมพิวเตอร์ สามารถรองรับโปรเซสเซอร์ได้มากกว่า 100 ตัว หน่ายวัดความเร็วของคอมพิวเตอร์นี้คือ หน่วยกิกะฟลอบ (Gigaflop) ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (Super Computer) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เหมาะกับงานคำนวณที่ต้องมีการคำนวณตัวเลขจำนวนหลายล้านตัวภายในเวลาอันรวดเร็ว เช่น งานพยากรณ์อากาศ ที่ต้องนำข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับอากาศทั้งระดับภาคพื้นดิน และระดับชื้นบรรยากาศเพื่อดูการเคลื่อนไหวและการเปลี่ยนแปลงของอากาศ งานนี้จำเป็นต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถนะสูงมาก นอกจากนี้มีงานอีกเป็นจำนวนมากที่ต้องใช้ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (Super Computer) ซึ่งมีความเร็วสูง เช่น งานการวิจัยนิวเคลียร์ งานควบคุมทางอวกาศ งานประมวลผลภาพทางการแพทย์ ด้านการทหาร วิศวกรรมเคมีภัณฑ์ปิโตรเลียม เช่น การสร้างโมเดลที่สามารถประมวลผลด้านความซับซ้อนสูงในการจำลองการประมวลผลต่างๆ รวมทั่วใช้วิจัยพันธุกรรมในมนุษย์หรือโครงสร้างดีเอ็นเอ ซึ่งมีมากกว่า 80,000 ถึง 100,000 ยีนในร่างกายของมนุษย์ งานด้านวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะทางด้านเคมี เภสัชวิทยา และงานด้านวิศวกรรมการออกแบบ และเนื่องจากราคาของซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (Super Computer) สูงมาก จึงมักมีการใช้งานเฉพาะด้านเท่านั้น หน่วยงานที่มีกำลังความสามารถในการนำไปใช้เพื่องานวิจัย ก็คือหน่วยงานขององค์การรัฐบาล ธุรกิจที่มีขนาดใหญ่มากและมหาวิทยาลัย
ที่มาhttp://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%8B%E0%B8%B9%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C

46. เครื่อง Mark I ประดิษฐ์ขึ้นในปี ค.ศ. ใด
ตอบ ค.ศ. 1944
คำอธิบาย [ พ.ศ.2487 ] ศาสตราจารย์โอเวิร์ด ไอด์เคน (Howard Aiken) แห่งมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด ร่วมกับวิศวกรของบริษัทไอบีเอ็มได้สร้างเครื่อง MARK I เป็นผลสำเร็จ แ ต่อย่างไรก็ตามเครื่อง MARK I นี้ยังไม่ใช่คอมพิวเตอร์ที่แท้จริงแต่เป็นเครื่องคิดเลขไฟฟ้าขนาดใหญ่เท่านั้น
ที่มา http://www.thaicyberpoint.com/ford/blog/id/193/

48. ประเภทของคอมพิวเตอร์แบ่งได้เป็นกี่ประเภท
ตอบ ค. 3
คำอธิบาย ประเภทของคอมพิวเตอร์ตามหลักการประมวลผล จำแนกได้เป็น 3 ประเภท คือ
คอมพิวเตอร์แบบแอนะล็อก (Analog Computer) หมายถึง เครื่องมือประมวลผลข้อมูลที่อาศัยหลักการวัด (Measuring Principle) ทำงานโดยใช้ข้อมูลที่มีการเปลี่ยนแปลงแบบต่อเนื่อง (Continuous Data) แสดงออกมาในลักษณะสัญญาณที่เรียกว่าAnalog Signal เครื่องคอมพิวเตอร์ประเภทนี้มักแสดงผลด้วยสเกลหน้าปัทม์ และเข็มชี้ เช่น การวัดค่าความยาว โดยเปรียบเทียบกับสเกลบนไม้บรรทัด การวัดค่าความร้อนจากการขยายตัวของปรอทเปรียบเทียบกับสเกลข้างหลอดแก้ว นอกจากนี้ยังมีตัวอย่างของ Analog Computer ที่ใช้การประมวลผลแบบเป็นขั้นตอน เช่น เครื่องวัดปริมาณการใช้น้ำด้วยมาตรวัดน้ำ ที่เปลี่ยนการไหลของน้ำให้เป็นตัวเลขแสดงปริมาณ อุปกรณ์วัดความเร็วของรถยนต์ในลักษณะเข็มชี้ หรือเครื่องตรวจคลื่ยสมองที่แสดงผลเป็นรูปกราฟ เป็นต้น
คอมพิวเตอร์แบบดิจิทัล (Digital Computer) ซึ่งก็คือคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการทำงานทั่วๆ ไปนั่นเอง เป็นเครื่องมือประมวลผลข้อมูลที่อาศัยหลักการนับ ทำงานกับข้อมูลที่มีลักษณะการเปลี่ยนแปลงแบบไม่ต่อเนื่อง (Discrete Data) ในลักษณะของสัญญาณไฟฟ้า หรือ Digital Signal อาศัยการนับสัญญาณข้อมูลที่เป็นจังหวะด้วยตัวนับ (Counter) ภายใต้ระบบฐานเวลา (Clock Time) มาตรฐาน ทำให้ผลลัพธ์เป็นที่น่าเชื่อถือ ทั้งสามารถนับข้อมูลให้ค่าความละเอียดสูง เช่นแสดงผลลัพธ์เป็นทศนิยมได้หลายตำแหน่ง เป็นต้น เนื่องจาก Digital Computer ต้องอาศัยข้อมูลที่เป็นสัญญาณไฟฟ้า (มนุษย์สัมผัสไม่ได้) ทำให้ไม่สามารถรับข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต้นทางได้โดยตรง จึงจำเป็นต้องเปลี่ยนข้อมูลต้นทางที่รับเข้า (Analog Signal) เป็นสัญญาณไฟฟ้า (Digital Signal) เสียก่อน เมื่อประมวลผลเรียบร้อยแล้วจึงเปลี่ยนสัญญาณไฟฟ้ากลับไปเป็น Analog Signal เพื่อสื่อความหมายกับมนุษย์ต่อไปโดยส่วนประกอบสำคัญที่เรียกว่า ตัวเปลี่ยนสัญญาณข้อมูล (Converter) คอยทำหน้าที่ในการเปลี่ยนรูปแบบของสัญญาณข้อมูล ระหว่าง Digital Signal กับ Analog Signal
คอมพิวเตอร์แบบลูกผสม (Hybrid Computer) เครื่องประมวลผลข้อมูลที่อาศัยเทคนิคการทำงานแบบผสมผสาน ระหว่าง Analog Computer และ Digital Computer โดยทั่วไปมักใช้ในงานเฉพาะกิจ โดยเฉพาะงานด้านวิทยาศาสตร์ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ในยานอวกาศ ที่ใช้ Analog Computer ควบคุมการหมุนของตัวยาน และใช้ Digital Computer ในการคำนวณระยะทาง เป็นต้นการทำงานแบบผสมผสานของคอมพิวเตอร์ชนิดนี้ ยังคงจำเป็นต้องอาศัยตัวเปลี่ยนสัญญาณ (Converter) เช่นเดิม
ที่มา http://www.chakkham.ac.th/technology/computer/web4.htm

62. ทำการแปลภาษาระดับสูง เป็นภาษาเครื่องโดยแปลทีละคำสั่งแล้วทำตามคำสั่งนั้นทันที
ตอบ ก. Interpreter
คำอธิบาย โปรแกรมแปลคำสั่ง, ตัวแปลคำสั่ง, หรือ อินเทอร์พรีเตอร์ (interpreter) หมายถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ทำงานตามชุดคำสั่งที่เขียนไว้ทันที ซึ่งไม่เหมือนกับโปรแกรมแปลโปรแกรม (compiler) ที่แปลชุดคำสั่งจากภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาหนึ่งไปเป็นอีกภาษาหนึ่งก่อนทำงาน (โดยส่วนมากจะแปลเป็นภาษาเครื่อง)โดยทั่วไปแล้วการทำงานของโปรแกรมผ่านโปรแกรมแปลคำสั่งจะช้ากว่าทำงานจากโปรแกรมที่ผ่านการแปลโปรแกรมเป็นภาษาเครื่องแล้ว เพราะโปรแกรมแปลคำสั่งจะต้องแปลแต่ละคำสั่งในระหว่างการทำงานว่าจะต้องทำอะไรต่อไป
ที่มาhttp://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%82%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B9%81%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%84%E0%B8%B3%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%87

67. E.D.P ย่อมาจาก
ตอบ ง. Electronic Data Processing
คำอธิบาย อีดีพี ย่อมาจาก electronic data processing (แปลว่า การประมวลผลข้อมูลแบบอิเล็กทรอนิกส์ ) หมายถึงการใช้เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ (ซึ่งก็คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ นั่นเอง) ทำการประมวลผลข้อมูลที่รับเข้าไปได้อย่างรวดเร็ว แล้วแสดงผลลัพธ์ให้ตามที่สั่ง
ที่มา http://www.siamdic.com/search.php?word=electronic%20data%20processin&type=2

75. อินเทอร์พริทเตอร์ ทำหน้าที่อะไร
ตอบ ก. แปลภาษาระดับสูงเป็นภาษาเครื่องโดยแปลทีละคำสั่ง
คำอธิบาย โปรแกรมแปลคำสั่ง, ตัวแปลคำสั่ง, หรือ อินเทอร์พรีเตอร์ (interpreter) หมายถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ทำงานตามชุดคำสั่งที่เขียนไว้ทันที ซึ่งไม่เหมือนกับโปรแกรมแปลโปรแกรม (compiler) ที่แปลชุดคำสั่งจากภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาหนึ่งไปเป็นอีกภาษาหนึ่งก่อนทำงาน (โดยส่วนมากจะแปลเป็นภาษาเครื่อง)โดยทั่วไปแล้วการทำงานของโปรแกรมผ่านโปรแกรมแปลคำสั่งจะช้ากว่าทำงานจากโปรแกรมที่ผ่านการแปลโปรแกรมเป็นภาษาเครื่องแล้ว เพราะโปรแกรมแปลคำสั่งจะต้องแปลแต่ละคำสั่งในระหว่างการทำงานว่าจะต้องทำอะไรต่อไป
ที่มาhttp://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%82%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B9%81%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%84%E0%B8%B3%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%87

80. ระเบียบวิธีการ เป็นคำกำจัดความของการกระทำซึ่งกันและกัน ระหว่างส่วนประกอบสองอย่างของซอฟต์แวร์คือ
ตอบ ง. Protocal
คำอธิบาย โปรโตคอล (Protocol) คือ ระเบียบพิธีการในการติดต่อสื่อสาร เมื่อมาใช้กับเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม จึงหมายถึงขั้นตอนการติดต่อสื่อสาร ซึ่งรวมถึง กฎ ระเบียบ และข้อกำหนดต่าง ๆ รวมถึงมาตรฐานที่ใช้ เพื่อให้ตัวรับและตัวส่งสามารถดำเนินกิจกรรมทางด้านสื่อสารได้สำเร็จ โดย Protocol จะมีระเบียบวิธีการหรือภาษาที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆ ที่อยู่ในระบบ ซึ่งในระบบ คอมพิวเตอร์อินเตอร์เน็ตนั้นมีให้อยู่ด้วยกันหลาย Protocol เช่น
1. (Transmission Control Protocol/ Internet Protocol )(TCP/IP) ICP/IP ประกอบด้วย 2 Protocol คือ ICP และ IP โดยที่ TCP ทำหน้าที่ส่งข้อมูลจากเครื่องของเราไปยัง Internet และ IP เป็น Protocal ที่ใช้สื่อสารกับอินเตอร์ TIP/IP นี่เองที่เป็น Protocol มาตรฐานที่ใช้ติดต่อกันบน Internet
2. Hyper Text Transfer Protocol (HTTP) ใช้สำหรับการส่งเอกสาร Hypertext ที่ถูกเขียนด้วยภาษา HTML จากเครื่องหนึ่งไปแสดงบน Web Browser ในคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่ง
3. File Transfer Protocal(FIP) Protocol นี้จะใช้สำหรับการถ่ายโอนไฟล์ระหว่างเครื่อง คอมพิวเตอร์เท่านั้น
4. Post Office protocol (POP3) Protocol สำหรับสื่อสารกับ Mail Server เพื่อรับข้อมูลหรือรับ E-Mail จาก Mail Server
5. Simple Mail Transfer Protocol (SMTP) Protocol สำหรับสื่อสารกับ Mail Server เพื่อส่งข้อมูลหรือส่ง E-mail ให้แก่ผู้รับ
ที่มา http://learners.in.th/blog/pawinee/8756

84. คำสั่ง :w คือ
ตอบ ค. บันทึกไฟล์
คำอธิบาย คำสั่ง id, finger, who, w : ทุกคำสั่งข้างต้นใช้สำหรับตรวจสอบผู้ใช้ แต่จะให้รายละเอียดต่างกันไป : print real and effective UIDs and GIDsตัวอย่างคำสั่ง และการใช้งานid uname :: ใช้ตรวจดูว่ามี account ในระบบหรือไม่ (ผลแสดงรหัสผลู้ใช้ และชื่อกลุ่ม)finger uname :: ใช้ตรวจดูว่ามี account uname นี้ในระบบหรือไม่ ให้ผลละเอียด ทั้ง last login หรือ email ฉบับล่าสุดfinger :: ใช้แสดงรายชื่อทุกคนในระบบที่กำลัง login อยู่finger @www.isinthai.com :: ใช้แสดงรายชื่อทุกคนในระบบที่กำลัง login อยู่ ตรวจ server นอกระบบได้ ถ้าเขาไม่ปิดwho grep thai :: ใช้แสดงรายชื่อทุกคนในระบบ แต่ใช้นอกระบบตนเองไม่ได้ และเลือกเฉพาะบรรทัดที่มีอักษร thaiw :: ใช้แสดงรายชื่อทุกคนในระบบ แต่ใช้นอกระบบตนเองไม่ได้
ที่มา http://uma.sut.ac.th/cluster/index.php?option=com_content&task=view&id=56&Itemid=164

86. คำสั่ง man คือ
ตอบ ง. ให้คำอธิบายต่าง ๆ เพิ่มเติมหากไม่เข้าใจ
คำอธิบาย คำสั่ง man : เป็นคำสั่งที่สำคัญมาก เพราะจะช่วยให้อธิบายคำสั่งต่าง ๆได้ : format and display the on-line manual pages จะเป็นคำสั่งที่ช่วยอธิบายหน้าที่ของคำสั่ง พร้อมกับแสดง parameter ที่สามารถใช้ได้ทั้งหมดของคำสั่งนั้น และยังมีตัวอย่างการใช้ และคำสั่งที่เกี่ยวข้องอีก ทำให้ประหยัดเวลาในการค้นเอกสารได้อย่างมาก อาจศึกษา linux ด้วยการอ่านจาก man อย่างเดียวเลยก็มี
ที่มา http://uma.sut.ac.th/cluster/index.php?option=com_content&task=view&id=56&Itemid=164

87. คำสั่ง Is คือ
ตอบ ก. แสดงรายชื่อในห้องปัจจุบัน
คำอธิบาย คำสั่ง ls: ใช้แสดงรายชื่อแฟ้มทั้งหมดใน home directory : list directory contents ทุกคนที่มี account ใน linux จะมี home directory ของตนเอง เพื่อใช้เก็บแฟ้มต่าง ๆ ภายใต้ระบบ linux เมื่อต้องการทราบว่ามีแฟ้มอะไร เก็บไว้บ้าง สามารถใช้คำสั่ง ls ได้ และสามารถกำหนด parameter ได้หลายตัว เช่น -al --sort เป็นต้น ถ้าต้องการทราบว่าปัจจุบันตนเองอยู่ใน Directory ใด ให้ใช้คำสั่ง pwd ตัวอย่างคำสั่ง และการใช้งานls -alt :: เพื่อแสดงรายชื่อแฟ้ม และจัดเรียงตามเวลา (a=all, l=long listing, t=sort by modification time)ls -alt more :: เพื่อแสดงรายชื่อแฟ้มทั้งหมด แต่หยุดทีละหน้า ถ้ามีจำนวนแฟ้มเกินที่จะแสดงได้ ใน 1 หน้าls -al --sort=time more :: แสดงรายชื่อแฟ้มเรียงตามเวลา แยกทีละหน้า แบบ long listingls -R more :: แสดงรายชื่อในทุก directory ในห้องปัจจุบัน (R=Recursive)ถ้าสังเกตนะครับ แฟ้มที่มี . หน้าชื่อแฟ้ม หมายถึง แฟ้มที่ซ่อนไว้ ถ้าใช้คำสั่ง ls หรือ ls -l จะไม่เห็นแฟ้มเหล่านี้ถ้ามีอักษร D ที่ Column แรก ในส่วนแสดงรายชื่อแฟ้ม ด้วยคำสั่ง ls -al จะหมายถึง directory
ที่มา http://uma.sut.ac.th/cluster/index.php?option=com_content&task=view&id=56&Itemid=164

97. คุณสมบัติของ INTERUPT คือ ข้อใด
ตอบ ง. ถูกทุกข้อ
คำอธิบาย interrupt เป็นสัญญาณจากอุปกรณ์ที่ต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือรูปแบบโปรแกรมภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ทำให้โปรแกรมหลักซึ่งควบคุมเครื่องคอมพิวเตอร์ (ระบบปฏิบัติการ) หยุดและมีข่าวสารให้ทำอะไรต่อไป เครื่องคอมพิวเตอร์เกือบทั้งหมดในปัจจุบัน เป็นระบบ Interrupt - driven (ระบบ Interrupt driven เริ่มทำงานตามรายการคำสั่งต่อไปจนกระทั่ง 1) ไม่สามารถไปไหนอีกแล้ว 2) เมื่อสัญญาณ Interrupt ถูกส่งออกมา) ภายหลังสัญญาณ Interrupt ถูกส่งออกมา คอมพิวเตอร์กลับมาทำงานต่อไปใหม่ โดยให้โปรแกรมทำงานต่อไป หรือให้โปรแกรมอื่นเริ่มต้นทำงาน โดยปกติ เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้ทีละคำสั่ง แต่สามารถถูก Interrupt ได้ ทำให้สามารถเปลี่ยนไปสู่การทำงานในโปรแกรมหรือกลุ่มของคำสั่งอื่น ซึ่งรู้จักว่าเป็น Multitasking ซึ่งยินยอมให้ผู้ใช้ทำงานในสิ่งที่แตกต่างกันได้ในเวลาเดียวกัน เมื่อคอมพิวเตอร์ไปจัดการกับโปรแกรมแล้ว ผู้ใช้จึงจะทำงานต่อไป เพราะคอมพิวเตอร์มีความเร็วในการทำงานสูง จนทำให้ดูเหมือนว่าทำงานได้ในเวลาเดียวกัน (ระบบปฏิบัติการที่ดีจะมีการหยุดเล็กน้อยในการทำงาน เพื่อผู้ใช้มีเวลาคิดที่จะทำงานในโปรแกรมต่อไป)ระบบปฏิบัติการมักจะมีรหัสที่เรียกว่า Interrupt handler ซึ่ง Interrupt handler จะจัดลำดับความสำคัญของการ Interrupt และเก็บไว้ในคิว ถ้าการ Interrupt มีมากกว่า 1 ระบบปฏิบัติการจะมีโปรแกรมอื่นเล็ก ๆ เรียกว่า Scheduler เพื่อชี้ให้เห็นถึงโปรแกรมในการควบคุมลำดับต่อไป
ที่มา http://www.widebase.net/knowledge/itterm/it_term_desc.php?term_id=interrupt&term_group=I

100. คำสั่ง Chmod คืออะไร
ตอบ ข. การกำหนดหรือเปลี่ยนแปลงสิทธิในการจัดการกับแฟ้ม
คำอธิบาย คำสั่ง chmod : ใช้เปลี่ยนสิทธิของแฟ้ม เจ้าของ(Owner), คนในกลุ่ม(Group), คนอื่น(Other) สามารถทำอะไรได้บ้าง : change file access permissions เมื่อใช้คำสั่ง ls ท่านจะเห็นตัวอักษร RWXRWXRWX หรือทำนองนี้หน้าชื่อแฟ้ม ซึ่งเป็นการกำหนด สิทธิของแต่ละแฟ้ม ว่า อ่านได้ เขียนได้ และประมวลผลได้ โดยแยกเป็นส่วนของ เจ้าของ กลุ่ม คนอื่น ซึ่งเป็นคำสั่งที่จำเป็นมากสำหรับ webmaster ในการดูแลระบบ และท่านที่ต้องการเขียน CGI จะต้องรู้คำสั่งนี้ เพราะ เมื่อส่งแฟ้ม CGI เข้าไปใน server และต้องการให้คนทั่วไปเข้ามาใช้บริการ โปรแกรมของตนที่เขียนขึ้นด้วย Perl จะไม่สามารถใช้ได้ ถ้าไม่กำหนดให้คนอื่น สามารถประมวลผลได้ (x) จึงจำเป็นต้องใช้คำสั่ง เช่น chmod 755 hello.pl หรือ chmod 775 fileforyou.pl หรือ chmod +x test.pl เป็นต้นในแต่ละกลุ่มจะมีการกำหนดสิทธิได้ 3 แบบตัวอักษร R มาจาก Read หมายถึง อ่านตัวอักษร W มาจาก Write หมายถึง เขียนตัวอักษร X มาจาก Execute หมายถึง ประมวลผลตัวอย่างเช่น--- : ไม่มีสิทธิอะไรเลย (เลขที่ใช้คือ 0)--X : ประมวลผลได้อย่างเดียว (เลขที่ใช้คือ 1)R-- : อ่านได้อย่างเดียว (เลขที่ใช้คือ 4)RW- : อ่าน และเขียนได้ (เลขที่ใช้คือ 6)R-X : อ่าน และประมวลผลได้ (เลขที่ใช้คือ 5)RWX : อ่าน เขียน และประมวลผลได้ (เลขที่ใช้คือ 7) ความหมายของ RWXRWXRWX จะเห็นว่ามีอักษร 9 ตัว3 ตัวแรกหมายถึง เจ้าของ3 ตัวที่สองหมายถึง กลุ่ม3 ตัวที่สามหมายถึง คนอื่นตัวอย่างเช่นRWX------ : เจ้าของเท่านั้นที่มีสิทธิทุกอย่าง (เลขที่ใช้คือ 700)RWXRWX--- : เจ้าของ และสมาชิกกลุ่มเดียวกันมีสิทธิทุกอย่าง (เลขที่ใช้คือ 770)RWXR-XR-X : เจ้าของทำได้หมด ส่วนกลุ่มและคนอื่นอ่านและประมวลผลได้ (เลขที่ใช้คือ 755)R--R--R-- : ทุกคนอ่านได้อย่างเดียว (เลขที่ใช้คือ 444)ตัวอย่างคำสั่ง และการใช้งานchmod 777 index.php :: ทำให้แฟ้มนี้ อ่าน เขียน และประมวลผล โดยทั้ง 3 กลุ่มchmod 755 * -Rf :: ทำให้ทุกแฟ้ม ทุก direcroty ในห้องปัจจุบัน เปลี่ยนตามที่กำหนด
ที่มา http://uma.sut.ac.th/cluster/index.php?option=com_content&task=view&id=56&Itemid=164

ไม่มีความคิดเห็น: